ยินดีต้อนรับสู่สำนักวิจัยและนวัตกรรม

นโยบาย พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัย นโยบายและมาตรการด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ดำเนินการสอนในระดับอุดมศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สร้างความ เป็นเลิศทางวิชาการ ทางวิชาชีพ การวิจัยจึงเป็นกลไกสำคัญที่สามารถชี้นำทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้โดยการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและทันสมัย เป็นประโยชน์ทางวิชาการหรือสังคม

 

ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จึงมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและสนับสนุนให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผลิตผลงานวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยและต่อการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมไทย โดยมีนโยบายและมาตรการด้านการวิจัยดังต่อไปนี้ นโยบายด้านการวิจัย ส่งเสริมการทำวิจัยของคณาจารย์ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้ทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานหรือสถาบันอื่น สนับสนุนงบประมาณการทำวิจัย และจัดหาเครื่องมือสนับสนุนการทำวิจัย สนับสนุนการเข้าร่วมการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย ส่งเสริมการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ มาตรการด้านการวิจัย มีคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย ช่วยพิจารณากลั่นกรองและให้คำปรึกษาโครงการวิจัย มีประกาศ แนวปฏิบัติ คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย จัดคลินิกวิจัย และการเสนอผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำวารสารเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา กำหนดมาตรการหรือสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้คณาจารย์ได้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ พันธกิจด้านการปฏิบัติงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ด้านการปฏิบัติงานวิจัย มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นไป

 

โดยสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนการวิจัยเพื่อให้มีผลงานด้านวิชาการ การวิจัยสถาบัน ทั้งยังสนับสนุนให้มีการวิจัยระดับเครือข่าย ระดับชาติ ตลอดจนจัดให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยไปเผยแพร่ในชุมชน สาธารณชน เป็นรากฐานของการนำวิชาการไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล

 

สำนักวิจัยและนวัตกรรมได้ก่อตั้งพร้อมกับการเป็นสถาบันอุดมศึกษา “มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์” เริ่มตั้งแต่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานวิชาการ ภายใต้ชื่อเรียก “งานวิจัยและพัฒนา” ต่อมาบทบาทของมหาวิทยาลัย เปลี่ยนแปลงไปจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนา หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ได้กำหนดชื่อหน่วยงานว่า “ศูนย์วิจัยและพัฒนา” และเปลี่ยนเป็น “สำนักวิจัยและนวัตกรรม” ในเวลาต่อมา ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คือ ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานวิจัยของมหาวิทยาลัย พิจารณาจัดสรรเงินทุนการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการขอรับเงินทุนการวิจัย การดำเนินโครงการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์จริง